中泰双语|中国联合泰国建立东盟唯一的"一带一路中心"
The following article is from 四点零翻译工作坊 Author 4.0汉泰云译客
จีนผนึกไทยตั้ง 'ศูนย์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง' แห่งเดียวในอาเซียน
中国联合泰国建立东盟唯一的"一带一路中心"
วช.ขับเคลื่อนความร่วมมือการวิจัย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” จับมือจีนตั้งศูนย์ความเป็นเลิศนานาชาติเพื่อการพัฒนายั่งยืนในระดับภูมิภาค นำร่องศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตโดยใช้แบบจำลองจากจีนและแบ่งปันข้อมูลบิ๊กดาต้าโลก เผยไทยจะเป็น 1 ใน 8 ศูนย์ของโลก
泰国国家研究理事会推动一带一路研究合作,携手中国建立区域可持续发展国际卓越中心。宣布泰国将成为世界八大中心之一,使用中国模式并分享全球大数据,以引领关于未来气候变化的研究。
ประเทศไทยจัดตั้ง “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (DBAR)” ในโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) เป็นหนึ่งในจำนวน 8 ศูนย์ทั่วโลกที่ได้จัดตั้งในประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟินแลนด์ อิตาลี ปากีสถาน โมรอคโค รัสเซีย สหรัฐและแซมเบีย โดยศูนย์ DBAR ที่ วช. เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศนานาชาติแห่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
泰国在一带一路框架下设立"数字一带一路(DBAR)国际卓越中心",其为泰国国家研究理事会和中国科学院 (Chinese Academy of Sciences)的国际合作项目,是在各个国家已建立的8个全球中心之一。(8个全球中心分别为:泰国、芬兰、意大利、巴基斯坦、摩洛哥、俄国、美国和赞比亚。)泰国国家研究理事会的"数字丝路"中心是东南亚地区唯一的国际卓越中心。
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการ วช. กล่าวบรรยายในพิธีเปิดการประชุม “4th Digital Belt and Road Conference” ที่เมืองเซินเจิ้น ว่า ในการดำเนินงานของศูนย์แห่งความเป็นเลิศนานาชาติ ดิจิทัลหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง กรุงเทพฯ ทางฝ่ายไทยมี วช. เป็นศูนย์กลางโดยร่วมกับอีก 3 หน่วยงาน คือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยรามคำแหงทำการวิจัยและบูรณาการข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม การเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัย รวมทั้งการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งให้ความสำคัญกับ 2 ประเด็นหลักคือ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ และภาวะภัยพิบัติต่างๆ
泰国国家研究理事会秘书长Sirirurg Songsivila教授在深圳召开的第四届“数字丝路”国际会议开幕式上说道,在曼谷数字丝路国际卓越中心的运作中,泰方以泰国国家研究局作为核心,联合另外三个组织,即亚洲理工学院(AIT)、地理信息与空间技术发展局 (公共组织)和兰甘亨大学,
着重于气候变化和各种灾害情况这两个重要主题,进行天气变化数据的研究和整合、灾害风险管理、环境研究,促进研究能力建设,以及针对可持续发展目标的各项行动。
ทางไทยมีโครงการนำร่อง 2 โครงการ คือ 1. การประเมินความสามารถการจำลองภูมิอากาศของแบบจำลอง CAS-ESM และการคาดประมาี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2. การประเมินเชิงบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจโลกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
泰国有两个试点项目,即:1.兰甘亨大学在东南亚地区进行地球系统模式CAS-ESM模拟气候的能力评估,以及对未来气候变化的预测。2.亚洲理工学院在曼谷及周边地区使用全球调查中的数据对可持续发展目标进行综合评估。
รวมทั้งจะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนในการแบ่งปันความเชี่ยวชาญ ความรู้ เทคโนโลยีและข้อมูล Big Earth Data ผ่านแพลตฟอร์มข้อมูลหลัก “CASEarth” ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ 1,200 คนจาก 130 สถาบันทั่วโลก เพื่อแก้ปัญหาคอขวดในการเข้าถึงและการแบ่งปันข้อมูล เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระดับนโยบายซึ่งสามารถนำมาสนับสนุนการดำเนินงานในประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
同时要促进和支持与东盟地区国家在分享专长、知识、技术和地球大数据方面的合作,通过由来自全球130个研究所的1200位科学家研发的主要数据平台——CASEarth,以解决访问和分享数据的瓶颈,在学术方面取得进步,包括建立基于策略的决策支持系统,该系统可用于支持气候变化方面的活动,以实现可持续发展的目标。
ส่วนการประชุม “4th Digital Belt and Road Conference” มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายและการทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค ให้บรรลุเป้าหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ทำความเข้าใจและสื่อสารปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความท้าทายและความสำเร็จในการใช้ Big Earth Data จากประสบการณ์ในปัจจุบันหรือโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ โดยมีนักวิจัยและผู้บริหาร จำนวน 350 คน จาก 30 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุม
至于第四届“数字丝路”国际会议的宗旨是,加强合作,为区域的可持续发展建立网络和协作,实现可持续发展的目标(SDGs),在"一带一路" (One Belt One Road) 国家间了解并交流关于可持续发展目标指标基本数据的收集情况,以及在使用采集自圆满完成项目或现在的经验的地球大数据时的挑战和成就。有来自全球30个国家的350个研究人员和领导人参与了会议。
本文观点不代表本平台观点
新闻来源:
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/859980
相关知识:
casearth - 大数据科学工程:http://www.casearth.com/
本文转载自四点零翻译工作坊
转载时有改动
相关阅读
中泰双语字幕微电影:分手后,就别打招呼了